ความแตกต่างของพายด์โดมิแนนท์กับพายด์รีเซสซีฟในนกฟอพัส
นกพายด์ฟอพัส (Pied Forpus) เป็นนกที่มีความสวยงามมาก มีลักษณะเป็นนกสีด่างโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มของสีนก คือ กลุ่มนกสีเขียว(นกสายกรีน) เช่น กรีน โอลีฟ พาสเทลกรีน พาสเทลเยลโล่ ฟอลโล่กรีน อเมริกันเยลโล่ เป็นต้น ถ้าพบว่ามีขนสีเหลืองแทรกอยู่ก็แสดงว่าเป็นนกพายด์ ส่วนกลุ่มนกสีฟ้า(นกสายบูล) เช่น บูล โคบอลท์ เมิฟ กเรย์ พาสเทลบูล ฟอลโล่บูล อเมริกันไวท์ เป็นต้น ซึ่งจะพบว่ามีขนสีขาวแทรกอยู่แทน การจำแนกนกพายด์สามารถจำแนกได้หลายประเภทแต่ในที่นี้ขออธิบายง่ายๆตามลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
ชนิดแรกคือพายด์โดมิแนนท์ ชนิดที่สองคือพายด์รีเซสซีฟ โดยปกติการจำแนกนกทั้ง 2 ชนิดนี้ด้วยตาเปล่าสำหรับผู้ที่พบเห็นทั่วไปหรือผู้ที่ต้องการซื้อหามาเลี้ยงเป็นเรื่องที่ยากมากโดยเฉพาะนกที่เคยพลัดขนแล้ว แต่อย่างไรก็ตามนกทั้ง 2 กลุ่มนี้ก็ยังมีลักษณะแตกต่างกันอยู่ดี กล่าวคือ
นกพายด์โดมิแนนท์ เป็นนกที่สามารถทราบได้ตั้งแต่แรกเกิดว่าเป็นนกพายด์ โดยการสังเกตจากลักษณะปลายเล็บของลูกนก ซึ่งถ้าพบว่าลูกนกที่เกิดมามีตาสีดำ เล็บสีขาว อมชมพูเหมือนกับเล็บของคนเราไม่มีสีดำที่ปลายเล็บ แสดงว่าลูกนกตัวนั้นเป็นนกพายด์โดมิแนนท์แน่นอน
แต่มีนกบางสายเลือดเล็บมีสีดำ ซึ่งจะยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นนกพายด์หรือไม่ ต้องรอจนกว่าลูกนกมีอายุประมาณ 2 สัปดาห์ ขนแท้จะเริ่มแทงขึ้นมาแทนขนอ่อน ซึ่งจะพบว่าลูกนกส่วนมากจะมีขนสีขาวหรือสีเหลืองแทรกขึ้นมาแทนสีพื้นตามส่วนต่างๆของร่างกายทั้งลำตัวและปีกมากบ้างน้อยบ้าง โดยปริมาณขนสีขาวหรือสีเหลืองที่แทรกขึ้นมานี้จะมีผลต่อความสวยงามของตัวนก ยิ่งมีมากนกจะมีความสวยมากตาม เมื่อลูกนกมีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ เราจะพบว่าสีที่ขนของตัวนกจะมีลักษณะจางกว่านกสีพื้นที่มีสีเดียวกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มความสวยงามให้กับตัวนกมากขึ้น สีขนของนกพายด์โดมิแนนท์จะมีลักษณะเหมือนสีที่ถูกแสงแดดเลียจนแลดูว่าสีซีดลงนั่นเอง ซึ่งทำให้มีความรู้สึกเป็นสีที่อ่อนนุ่มสวยงามยิ่งนัก
นกพายด์รีเซสซีฟ เป็นนกที่ไม่สามารถทราบได้ตั้งแต่แรกเกิดว่าเป็นนกพายด์หรือไม่ ทั้งนี้เนื่องจากว่าลักษณะของลูกนกจะมีลักษณะเหมือนกับนกสีพื้นทุกอย่างจนกระทั่งนกมีอายุประมาณ 4-5 เดือน นกจะมีการพลัดขนครั้งแรก โดยมีขนสีขาวหรือสีเหลืองแทรกขึ้นมาแทนสีพื้นตามส่วนต่างๆของร่างกายของลำตัวและปีกมากบ้างน้อยบ้าง แต่สีที่ขนและปีกของตัวนกจะมีลักษณะเหมือนนกสีพื้นดังเดิม เช่น ถ้าขนเดิมในส่วนที่เป็นสีเขียวแล้วไม่ผลัดเป็นสีเหลือง ลักษณะความเข้มของสีเขียวจะยังคงเดิมเหมือนนกเขียวทั่วไป ซึ่งโดยทั่วไปจะได้รับความนิยมน้อยกว่านกพายด์โดมิแนนท์ ทั้งนี้เพราะผู้เพาะเลี้ยงจะต้องใช้เวลารอจนแน่ใจว่า นกตัวใดเป็นนกพายด์หรือนกสีพื้น ในกรณีที่มีพื้นที่จำกัด อาจทำให้ตัดสินใจขายนกพายด์รีเซสซีฟสวยๆออกไปเสียก่อน
สรุปความแตกต่างของนกพายด์ทั้ง 2 ชนิด
1.พายด์โดมิแนนท์สามารถทราบได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่พายด์รีเซสซีฟต้องรอถ่ายขนใหม่
2.สีขนทั่วไปของพายด์โดมิแนนท์จะซีดกว่านกสีพื้น แต่พายด์รีเซสซีฟจะมีสีขนเหมือนเดิม ซึ่งสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าแม้กระทั่งเป็นนกที่เคยผลัดขนแล้ว
3.ลูกนกที่เป็นสีพื้นที่เกิดจากพายด์โดมิแนนท์จะไม่สามารถเรียกว่าเป็นนกสปริทพายด์ได้ ที่ถูกต้องสามารถบอกได้เพียงว่า เกิดจากพ่อแม่เป็นพายด์โดมิแนนท์เท่านั้น เพราะจะไม่สามารถให้ลูกนกเป็นพายด์โดมิแนนท์ได้เลย
4.ลูกนกที่เป็นสีพื้นที่เกิดจากพายด์รีเซสซีพเท่านั้นที่สามารถเรียกว่าเป็นนกสปริทพายด์ได้ ซึ่งสามารถถ่ายทอดพันธุกรรมให้ได้พายด์รีเซสซีพต่อไปได้
5.ลูกนกที่เป็นพายด์ทั้ง 2 ชนิด สามารถสปริทสีอื่นๆได้ เช่นพายด์กรีนสปริทบูล
1.พายด์โดมิแนนท์สามารถทราบได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่พายด์รีเซสซีฟต้องรอถ่ายขนใหม่
2.สีขนทั่วไปของพายด์โดมิแนนท์จะซีดกว่านกสีพื้น แต่พายด์รีเซสซีฟจะมีสีขนเหมือนเดิม ซึ่งสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าแม้กระทั่งเป็นนกที่เคยผลัดขนแล้ว
3.ลูกนกที่เป็นสีพื้นที่เกิดจากพายด์โดมิแนนท์จะไม่สามารถเรียกว่าเป็นนกสปริทพายด์ได้ ที่ถูกต้องสามารถบอกได้เพียงว่า เกิดจากพ่อแม่เป็นพายด์โดมิแนนท์เท่านั้น เพราะจะไม่สามารถให้ลูกนกเป็นพายด์โดมิแนนท์ได้เลย
4.ลูกนกที่เป็นสีพื้นที่เกิดจากพายด์รีเซสซีพเท่านั้นที่สามารถเรียกว่าเป็นนกสปริทพายด์ได้ ซึ่งสามารถถ่ายทอดพันธุกรรมให้ได้พายด์รีเซสซีพต่อไปได้
5.ลูกนกที่เป็นพายด์ทั้ง 2 ชนิด สามารถสปริทสีอื่นๆได้ เช่นพายด์กรีนสปริทบูล
ในปัจจุบัน อาจพบว่ามีศัพท์ใหม่คือ ลูกผ่านพายด์ ซึ่งผู้พูดหรือบอก มีความต้องการสื่อว่านกตัวนั้นมีพ่อแม่เป็นพายด์ ในขณะที่ผู้ฟังหรืออ่านที่ไม่มีความรู้ด้านการถ่ายทอดพันธุกรรมที่ถูกต้อง จะเข้าใจว่าเป็นนกสปริททั้งหมด ดังนั้นถ้าเป็นนกที่มีพ่อแม่เป็นพายด์โดมิแนนท์ คำว่าลูกผ่านพายด์ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย กล่าวคือลูกนกตัวนั้นเป็นนกสีพื้นทั่วไปนั่นเอง
เจ้าของลิขสิทธิ์ นายสมพงษ์ ชื่นอิ่ม (วันที่ 4 มีนาคม 2554)
ข้อความและรูปภาพทั้งหมดในบทความนี้ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2537 การคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความนี้ ไปเผยแพร่ในทุกรูป ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน
ข้อความและรูปภาพทั้งหมดในบทความนี้ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2537 การคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความนี้ ไปเผยแพร่ในทุกรูป ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น