ความแตกต่างระหว่าง Forpus (Parrotlet) กับ Lovebird
ความแตกต่างระหว่าง Forpus (Parrotlet) กับ Lovebird สามารถแบ่งแยกได้ดังนี้
1. ขนาดความยาวลำตัว (เป็นมาตรฐานที่ใช้สำหรับวัดขนาดนก) Forpus 5 นิ้ว Lovebird 6-7 นิ้ว (มีขอบตา-ไม่มีขอบตา)
2. เสียง Forpus เสียงไม่ดัง Lovebird เสียงดัง ยกเว้นเวลาก่อนที่จะผสมพันธุ์อาจมีเสียงดังบ้าง(คล้ายนกกระจอกตีกัน)แต่ก็ ยังไม่เท่าLovebird ที่ส่งเสียงดังตลอดเวลาและสามารถได้ยินไกลกว่า 2-3 เท่า สำหรับ Forpus หากเลี้ยงคู่เดียวแทบจะไม่ได้ยินเสียงเลยซึ่งตรงกันข้ามกับLovebird
3. การจำแนกเพศ Forpus สามารถจำแนกได้ด้วยตาเปล่า แต่ Lovebird ไม่สามารถทำได้ ถ้าต้องการความถูกต้อง 100% ต้องตรวจ DNA ดังนั้นหากต้องการเลี้ยงเพียงคู่เดียวก็จะได้นกเพศผู้-เพศเมีย ถูกต้อง 100% ซึ่งLovebird มีโอกาสได้นกเพศเดียวกันสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งมือใหม่ที่ไม่มีความรู้และ ประสบการณ์ (ในขณะที่มือเก่าเองก็ยังมีโอกาสผิดได้เหมือนกันแต่อาจน้อยกว่า) ซึ่งอาจทำให้เสียเวลาในการเพาะขยายพันธุ์ทั้งๆที่การเลี้ยงดูก็เหมือนกับผู้ เพาะเลี้ยงรายอื่น
4. สี ปัจจุบัน Forpus(สายพันธุ์ Pacific parrotlet) สียังน้อยกว่า Lovebird (หากรวมทุกสายพันธุ์) แต่หากเปรียบเทียบเฉพาะสายพันธุ์ น่าจะน้อยกว่า Peachface Lovebird (ไม่มีขอบตา)สายพันธุ์เดียวเท่านั้น ส่วนสีม่วงมีการทำได้แล้วแต่ยังไม่มีจำนวน
5. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม(Colour Mutation) มีการถ่ายทอดครบ 4 แบบ เหมือนนก Lovebird ไม่มีขอบตา
6. โรคติดต่อเฉพาะ ยังไม่พบว่า Forpus เป็นโรคตาเจ็บ แต่พบว่าเป็นโรคฝีดาษ (ไม่ติดต่อถึงกัน เป็นเฉพาะตัว) ในขณะที่ Lovebird เป็นทั้ง 2 โรค และมี % การตายสูงมาก
7. อาหาร ประกอบด้วย ทานตะวัน มิลเลต ข้าวไร ข้าวโอ๊ด ห่วยมั้วและข้าวเปลือก พฤติกรรมการกินอาหารของ Forpus ไม่ขุ้ยเขี่ยอาหารให้เสียหาย ปริมาณการกินอาหารน้อยกว่า Lovebird เนื่องจากขนาดเล็กกว่า
8. การวางไข่ครั้งละ 5-8 ฟอง (เฉลี่ย 6 ฟอง)
9. ความนิยม สำหรับผู้เพาะขยายพันธุ์มีน้อย แต่สำหรับนกลูกป้อนที่นำไปเลี้ยงฝึกและเลี้ยงเป็นเพื่อนในบ้าน หอพัก กำลังได้รับความนิยมสูงมากๆ
10. Forpus ปัจจุบันราคาในประเทศไม่ดีเท่า Lovebird แต่ในต่างประเทศสูงกว่าไม่น้อยกว่า 5-10 เท่าตัว ซึ่งเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เลี้ยงไว้ดูเล่นที่มีเงินน้อย สถานที่จำกัด และขณะนี้กำลังมีการแข่งขันความสามารถของ Forpus ซึ่งสามารถนำนกไปเข้าร่วมการแข่งขันได้อีกด้วย
11. Forpus กัดเจ็บแต่มักจะไม่ได้เลือด ในขณะที่ Lovebird กัดเจ็บน้อยกว่าแต่ได้เลือดมากกว่า
12. Forpus กรงที่ใช้เลี้ยงสามารถใช้กรงเล็กกว่า (สิ้นเปลืองงบประมาณน้อยกว่า) และไม่จำเป็นต้องใช้ฝากั้น เพราะอย่างไรเสีย เสียงก็ยังดังสู้ Lovebird ไม่ได้ (ในปริมาณนกเท่ากัน)
2. เสียง Forpus เสียงไม่ดัง Lovebird เสียงดัง ยกเว้นเวลาก่อนที่จะผสมพันธุ์อาจมีเสียงดังบ้าง(คล้ายนกกระจอกตีกัน)แต่ก็ ยังไม่เท่าLovebird ที่ส่งเสียงดังตลอดเวลาและสามารถได้ยินไกลกว่า 2-3 เท่า สำหรับ Forpus หากเลี้ยงคู่เดียวแทบจะไม่ได้ยินเสียงเลยซึ่งตรงกันข้ามกับLovebird
3. การจำแนกเพศ Forpus สามารถจำแนกได้ด้วยตาเปล่า แต่ Lovebird ไม่สามารถทำได้ ถ้าต้องการความถูกต้อง 100% ต้องตรวจ DNA ดังนั้นหากต้องการเลี้ยงเพียงคู่เดียวก็จะได้นกเพศผู้-เพศเมีย ถูกต้อง 100% ซึ่งLovebird มีโอกาสได้นกเพศเดียวกันสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งมือใหม่ที่ไม่มีความรู้และ ประสบการณ์ (ในขณะที่มือเก่าเองก็ยังมีโอกาสผิดได้เหมือนกันแต่อาจน้อยกว่า) ซึ่งอาจทำให้เสียเวลาในการเพาะขยายพันธุ์ทั้งๆที่การเลี้ยงดูก็เหมือนกับผู้ เพาะเลี้ยงรายอื่น
4. สี ปัจจุบัน Forpus(สายพันธุ์ Pacific parrotlet) สียังน้อยกว่า Lovebird (หากรวมทุกสายพันธุ์) แต่หากเปรียบเทียบเฉพาะสายพันธุ์ น่าจะน้อยกว่า Peachface Lovebird (ไม่มีขอบตา)สายพันธุ์เดียวเท่านั้น ส่วนสีม่วงมีการทำได้แล้วแต่ยังไม่มีจำนวน
5. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม(Colour Mutation) มีการถ่ายทอดครบ 4 แบบ เหมือนนก Lovebird ไม่มีขอบตา
6. โรคติดต่อเฉพาะ ยังไม่พบว่า Forpus เป็นโรคตาเจ็บ แต่พบว่าเป็นโรคฝีดาษ (ไม่ติดต่อถึงกัน เป็นเฉพาะตัว) ในขณะที่ Lovebird เป็นทั้ง 2 โรค และมี % การตายสูงมาก
7. อาหาร ประกอบด้วย ทานตะวัน มิลเลต ข้าวไร ข้าวโอ๊ด ห่วยมั้วและข้าวเปลือก พฤติกรรมการกินอาหารของ Forpus ไม่ขุ้ยเขี่ยอาหารให้เสียหาย ปริมาณการกินอาหารน้อยกว่า Lovebird เนื่องจากขนาดเล็กกว่า
8. การวางไข่ครั้งละ 5-8 ฟอง (เฉลี่ย 6 ฟอง)
9. ความนิยม สำหรับผู้เพาะขยายพันธุ์มีน้อย แต่สำหรับนกลูกป้อนที่นำไปเลี้ยงฝึกและเลี้ยงเป็นเพื่อนในบ้าน หอพัก กำลังได้รับความนิยมสูงมากๆ
10. Forpus ปัจจุบันราคาในประเทศไม่ดีเท่า Lovebird แต่ในต่างประเทศสูงกว่าไม่น้อยกว่า 5-10 เท่าตัว ซึ่งเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เลี้ยงไว้ดูเล่นที่มีเงินน้อย สถานที่จำกัด และขณะนี้กำลังมีการแข่งขันความสามารถของ Forpus ซึ่งสามารถนำนกไปเข้าร่วมการแข่งขันได้อีกด้วย
11. Forpus กัดเจ็บแต่มักจะไม่ได้เลือด ในขณะที่ Lovebird กัดเจ็บน้อยกว่าแต่ได้เลือดมากกว่า
12. Forpus กรงที่ใช้เลี้ยงสามารถใช้กรงเล็กกว่า (สิ้นเปลืองงบประมาณน้อยกว่า) และไม่จำเป็นต้องใช้ฝากั้น เพราะอย่างไรเสีย เสียงก็ยังดังสู้ Lovebird ไม่ได้ (ในปริมาณนกเท่ากัน)
เขียน-ภาพ โดย นายสมพงษ์ ชื่นอิ่ม
เจ้าของลิขสิทธิ์ นายสมพงษ์ ชื่นอิ่ม
ข้อความและรูปภาพทั้งหมดในบทความนี้ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2535 การคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความนี้ ไปเผยแพร่ในทุกรูปแบบ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น