Translate

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ฟอพัสน่ารักไหม เลี้ยงยากไหม เสียงดังไหม กัดเจ็บไหม ตอบตรงๆนะครับจากที่เลี้ยงมา ฟอพัสเลี้ยงง่ายแข็งแรงมากกินอาหารเมล็ดพืชทุกอย่างที่นกเลิฟเบิร์ดกินได้ ที่บ้านผมก็ใช้อาหารเลิฟเบิร์ดเลี้ยงครับ เสียงดังไม่มากครับอันนี้ยืนยันเพราะฟอพัสเป็นนกที่มีเสียงร้องตอนเช้ากับเย็นหลังจากนั้นเขาจะเล่นกินและนอนยกเว้นเสียงดังตอนทะเลาะกับข้างบ้าน(กรงข้างๆ)นั่นละครับ สว่นการกัดเจ็บแน่ครับแต่เขาไม่ได้กัดแบบกัดตลอดนะครับ ตอนเขาตกใจ โกรธ เขาจะกัดแน่ๆครับสว่นอารมย์อื่นผมยังไม่เคยโดนกัดครับ ดังนั้นใครจะเลี้ยงนกฟอพัสหรืออยากเลี้ยงน้องบ้านเรามีเวปรายละเอียดแนะนำน้องเขามากมายครับ แต่จะเอาต้นฉบับ ต้องของ สยามฟอพัสครับ มีทุกอย่างให้เราได้หาข้อมูลครับ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์สมพงษ์ แห่งสยามฟอพัส มา ณ ที่นี้ครับ ขอบคุณครับอาจารย์


กระดองปลาหมึกอย่างเดียวพอไหม สำหรับนกพ่อแม่พันธุ์คำตอบสั้นๆว่าไม่พอ สำหรับนกพ่อแม่พันธุ์ เพราะนกฟอพัสเป็นนกที่ไข่เกินตัว ขนาดไหนนะเหรอครับบางครอกไข่ถึงแปดฟอง ที่บ้านเจอเข้าไปอึ้งทึ่งเสียว อึ้งทำไมนกตัวเล็กถึงไข่ได้เยอะขนาดนี้แค่สี่ถึงหกฟองก็กกแทบไม่มิด ทึ่งในนกขนาดเล็กที่พยายามขยายพันธุ์ได้ทีละมากมายเกินขนาด เสียวว่านกจะฟักออกทุกฟองไหน แค่นี้พอไหมครับสำหรับกระดองปลาหมึกอย่างเดียว บ่องตงครับว่าไม่พอ ดังนั้นตัวช่วยพวกแคลเซียมน้ำจะช่วยให้พ่อแม่พันธุ์ ไม่มีอาการขาดแคลเซียมได้ ทำให้ไม่เกิดอาการไข่ติดในแม่พันธุ์ซึ่งผลเสียที่ตามมาใหญ่หลวงยิ่งนักถ้าไข่ติดแล้วไข่ไม่ออกแม่นกอาจตายได้ สว่นตัวผู้ไม่มีปัญหาไข่ติดมีแต่ปัญหาไข่ฝ่อ คือผสมแล้วไม่ติด ดังนั้นการให้แคลเซียมเสริมกับนกจะช่วยลดปัญหาพวกนี้ได้ ครับ ข้อมูลข้างต้นจากประสพการณ์ผิดถูกตกหล่นประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ


หนาวมาพร้อมกับความแห้งแล้ง นกอาจจะฟักออกจากไข่ไม่ได้เนื่องจากเยื่อหุ้มไข่แห้งเร็วมากขึ้นทำให้รัดตัวนกจนลูกนกไม่มีแรงฉีกเปลือกไข่ได้ทำให้นกตายติดในไข่ได้ทำให้เกิดความสูญเสียได้ครับ ดังนั้นเรามาหาทางแก้ง่ายๆดีใหมครับ ง่ายที่สุดแค่เราเพิ่มความชื้นในโรงเรือนที่เราเลี้ยงนกได้ง่ายๆดังนี้ครับ แค่เราเอาถังน้ำหรือกะละมังใส่น้ำแล้วเอาไปไว้ในบริเวณกรงนกทิ้งไว้ให้โดนแดด แค่นี้ก็จะช่วยเพิ่มความชื้นได้แบบง่ายๆแล้วครับ ปล อย่าเชื่อผมจนกว่าคุณจะได้ลองด้วยตัวคุณเอง สุดท้ายขอให้คนรักฟอพัสทุกท่านมีลูกนกสวยๆเต็มบ้านเงินทองล้นมือครับ อ้อเกือบลืมช่วงนี้อากาศหนาวมากที่ไหนก็หนาวไม่ใช่แค่ลำปางนกี่เราเลี้ยงอาจจะไม่สบายได้ดังนั้นขอให้ทุกท่านดูแลสุขภาทั้งคนและนก ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ



วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รังไข่กับฟอพัส
หลังจากที่ทดลองใช้รังไข่หลายๆแบบ ทั้งแนวตั้งและแนวนอนจนในที่สุดก็ได้ข้อสรุปคร่าวๆดังนี้
รังไข่แนวนอนนกเข้าไข่ง่าย อกกจากรังง่าย และเวลามีลูกนกลงรังก็ลงได้เร็วมากขึ้น แต่ท่านเคยสงสัยไหมว่าทำไมบางครั้งนกเหยียบไข่แตกและขี้เลื่อยบาง ก็เพราะความที่ง่ายไปหมดนี่ละครับทำให้นกคาบขี้เลื่อยตอนจัดรังทิ้งได้เยอะเลยทำให้ขี้เลื่อยบางครับ และนกมีพื้นที่ขยับตัวน้อยเลยเหยียบไข่แตกคิดแล้วน่าเสียดาย โกรธ โกรธ
แต่รังแนวตั้งที่ทดลองใช้ได้ผลดังนี้ครับ แม่นกหลังจากไข่จะออกจากรังน้อยมากๆ มีขี้เลื่อยรองรังเหลือพอดี แถมมีพื้นที่ให้ทั้งพ่อนกและแม่นกอยู่รวมกันได้สบายๆ หมดปัญหาเหยียบไข่แตกทั้งที่ผมใช้กับพ่อแม่มือใหม่ทั้งหมด  อายจัง อายจัง
ผมเลยค่อนข้างที่จะชอบรังแนวตั้งซะและ 
ข้อความที่ผมโพสมาจากการใช้งานจริงและทดลองเอง ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้นะที่นี้นะครับ

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรื่องของสีนก
ตัวแรกสีเขียวครับ เป็นสีต้นๆของคนเลี้ยงนกควรฝึกเลี้ยงเพราะแข็งแรงให้ลูกดก และเลี้ยงง่าย

ถัดมาคือพายด์กรีนครับ สีสวยและเป็นสีทีได้รับความนิยม นกจะเล็บขาว มีสีเหลืองแซมตามตัว


ถัดมาคือพาสเทลกรีนครับ สวยสีจะจางลงมาจากสีเขียวธรรมดาเป็นสีเขียวอ่อนๆ
พาสเทลเยลโล่ว จะออกสีแหลืองๆมากกว่าเขียว(เหลืองทั้งตัว ตาดำ เล็บเทาๆขาวๆ



คุณรู้หรือไม่
สามวันนรกคือสามวันสำคัญมากสำหรับลูกนกที่เพิ่งฟักออกจากไข่ เพราะพ่อแม่นกมือใหม่มักจะประสพปัญหาในการป้อนอาหารลูกนกดั้งนั้นเรามาทำความเข้าใจกันสักนิ้ดนะคร้าบ
วันแรกหลังจากออกจากไข่นกจะยังอยู่ได้เพราะมีอาหารติดตัวมาแบบลูกนกแอบเพ็คเสบียงเอ๊ยลูกนกจะยังกินไข่แดงที่ติดตัวมาและยังมีชีวิตอยู่ได้ชิลๆ
วันที่สองนกจะเริ่มต้องการอาหารวันนี้จะสำคัญมากถ้าพ่อแม่ไม่ป้อนน้ำหรืออาหารลูกนก ลูกนกจะขาดน้ำและอาหารทำให้ต่ยได้ง่ายๆ
วันที่สามคือวันที่เราจะได้รู้ว่าลูกนกจะรอดหรือไม่ถ้าตอนเย็นอาหารเต็มกะเพราะสบายใจได้เลยครับ 99.99999999999999% รอดชัวร์ 
ข้อมูลตัวนี้ผมสังเกตูนกที่บ้านเองครับ ผิดถูกประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับ
ท่านรู้หรือไม่ว่า 
ระยะเวลาฟักไข่ฟอพัสนั้นมีระยะเวลาที่ไม่แน่นอน บางตัวอาจจะฟักนับจากวันไข่ได้เพียง 18 วัน หรือตามระยะ 21 วันเป๊ะ แต่บางตัวอาจเลทไปที่ 24-25 วันก็ได้ครับ ดังนั้นเพื่อให้เราไม่ลืมว่านกจะไข่วันไหนเอ๊ยฟักวันไหน เรามาจดบันทึกกันไหมครับ
บางท่านอาจจะบอกว่าอ้าวแล้วจะรู้ได้ไงว่านกไข่วันไหนเพราะไม่กล้าเปิดดูงั้นวิธีง่ายๆครับให้ดูว่าวันไหนตัวเมียหายนานผิดปรกติออกมากินอาหารแล้วรีบเข้ารังไข่ให้เปิดสังเกตุสักสองวันครับถ้าเป็นอย่างนั้นเมื่อไหร่ให้จดไว้เลยว่านกน่าจะเริ่มไข่แล้วครับแต่ถ้าอยากเอาชัวร์ก็เปิดรังไข่เช็คเลยครับถ้ามีไข่ แล้วให้นับไปเลย 21 วันอย่างที่บอกแล้วจึงเปิดดูรังอีกทีถ้ายังไม่มีลูกนกออกจากไข่ให้รออีกอย่างน้อยห้าวันครับ ถ้ามีตัวก็รอจนลูกนกลงรังเราก็จะรู้แล้วครับว่าเราจะได้ลูกนกกี่ตัวครับ (เนื่องจากที่บ้านจะเช็ครังไข่ทุกวันจึงมีตารางนกไข่และวันฟักที่ทำให้เราพอจะรู้วันฟักของลูกนกครับ)
ดังนั้นการที่เราจดหรือสังเกตุก็จำช่วยได้ครับ
ผิดพลาดประการใดขอ อภัยไว้นะที่นี้ครับ
คุณเคยรู้ไหมว่า
อุณหภูมิมีความสำคุญกับวิตามินที่เราใช้เลี้ยงนกทุกชนิดที่เรามี เพราะถ้าวิตามินถูกทิ้งไว้ในอุณหภูมิที่สูงหรือโดนแดดก็จะทำให้เสื่อมสภาพเร็วขึ้นผมเจอมาแล้วจากวิตามินรวมสีชมพูกลายเป็นน้ำสีขาวๆใช้ไม่ได้ในสี่วัน(เพราะหลงทิ้งไว้ในห้องนก(สงสัยคนเลี้ยงจะอายุเยอะอิอิ))ดังนั้นที่บ้านจะจัดเก็บวิตามินบำรุงน้องนนกทั้งหมดในตู้เย็นเพื่อรักษาคุณภาพของวิตามินให้มีคุณภาพเหมือนเดิมจากวันที่เราซื้อมาจนถึงวันที่ใช้จนหมด
ฝากไว้ให้พิจารณาด้วยนะครับ

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ท่านรู้หรือไม่ว่าความชื้นมีผลมากต่อการฟักตัวของลูกนก ถ้าพูดบ้านๆก็ถ้าฝนตกไข่อาจจะเสียหรือเน่าได้
แต่ถ้าร้อนมากๆไข่อาจจะเชื้อตายได้
แต่ถ้าหนาวมากๆเยื่อหุ้มไข่อาจจะแห้งเร็วจนรัดตัวนก ดังนั้นทุกท่านขอให้สังเกตุอากาศบ้านเราดีๆนะครับช่วงนี้ฝนก็ตกบ่อย แล้วบางวันก็ร้อนตับแลบ 
อาจทำให้นกบ้านเราผลผลิตลดลงได้ครับ

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

 เรื่องของหญ้า(ขน)บรรทุก


หลายคนเคยสงสัยไหมครับว่าทำไมถึงต้องให้หญ้าขนกับนกทั้งที่นกบางชนิดในธรรมชาติอาจไม่เคยกินหญ้าชนิดนี้ด้วยซ้ำดังนั้น เรามาหาความรู้จากเรื่องหญ้าๆกันครับ 

 

ประโยชน์ของหญ้าขน    ก็คือ มีไฟเบอร์สูง  มีวิตามินซี เหมาะสำหรับสัตว์กินพืช ไฟเบอร์มีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยในกระบวนการย่อยให้เป็นไปตามปกติ
ในอาหารเม็ดที่เราให้กันทั่วไปจะมีไฟเบอร์ต่ำกว่า แต่ในหญ้าขนจะมีไฟเบอร์สูงกว่านั้นมาก
 
ข้อแตกต่างระหว่างหญ้าขนสดกับหญ้าขนแห้ง
1.  หญ้าขนสดจะมีวิตามินซีมากกว่าหญ้าขนแห้ง เนื่องจากวิตามินซีจะหายไปจากการตากแห้ง
          2.  หญ้าขนแห้งต้องระวังเรื่องเชื้อรา เพราะถ้าหากตากไม่สนิท แล้วใส่ถุงนานๆจะเกิดเชื้อราได้
          3.  หญ้าสดขนมีแบคทีเรียชนิดหนึ่งมีประโยชน์คือช่วยย่อยอาหาร
 
การให้ เหมือนเป็นของว่าง แต่หญ้าสดควรให้ตามความเหมาะสมอาทิตย์ละสองถึงสามวัน เวลาเช้า-เย็น และสามารถเสริมธัญญาพืชต่างๆได้
หญ้าขนเป็น พืชในวงศ์หญ้า เป็นหญ้าสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก เป็นพืชหลายฤดู   มีเถาเลื้อย  ลำต้นกลวง สูงยาว ใบเป็นรูปหอกปลายแหลมมีขนขาวๆ ปกคลุมขอบใบและแผ่นหลังใบ  ถ้าเอามือลองรูดที่ขอบใบในลักษณะย้อนเข้าหาโคนใบจะรู้สึกเหมือนมีใบเลื่อย รูดแรงๆอาจบาดมือได้  โดยที่บริเวณข้อของก้านก็มีขนขาวๆเช่นกัน   มีดอกเป็นช่อที่ส่วนยอดเมื่อหญ้าเริ่มแก่ มีก้านช่อดอกยาว ช่อดอกย่อยมี 10-20 ช่อ สีเขียวคล้ำปนดำ ดอกพองเนื่องจากติดเมล็ดได้ดี โดยดอกของหญ้าขนนั้น ออกดอกตลอดปี

หญ้าขนจะแพร่กระจายด้วยเมล็ด และการแตกไหลออกรากตามข้อ  มีการเจริญเติบโตเป็นกอ ยอดที่สมบูรณ์ที่สุดจะสูงที่สุด และอวบ มีลักษณะเป็นปล้อง  ชอบขึ้นตามดินแฉะ ชายตลิ่งหรือที่ริมน้ำ แล้วเจริญงอกงามแผ่ลงน้ำ มีไหลเลื้อยทอดไปตามดินหรือนพบได้ทั่วประเทศไทย
    
ลักษณะกอของหญ้าขนจะแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะของพื้นที่ที่หญ้าขนขึ้นอยู่ ยกตัวอย่างเช่น
ในพื้นที่ที่ดินอุดมสมบูรณ์และโล่งกว้าง หญ้าขนจะเติบโตในลักษณะเลื้อยไปกับพื้น ปล้องที่สมบูรณ์มากๆ จะอวบ และฉ่ำน้ำ สีของปล้องอาจจะกลายเป็นสีเขียวอมม่วงๆ 
สำหรับพื้นที่ที่ไม่กว้างนัก และหญ้าขนขึ้นแออัด ลักษณะของยอดจะตั้งตรง ทำให้เห็นเป็นทุ่งหญ้า

วิธี การเลือกหญ้าขน 
ให้เลือกหญ้าที่มีสีเขียวสด  จะดีกว่าหญ้าแห้งและหญ้าที่มีสีเหลือง เพราะจะสดกรอบ และมีสารอาหารมากกว่า
เคยถามตัววเองไหมครับก่อนจะมาเลี้ยงนก ว่าเราอยากได้นกแบบไหนมาเลี้ยง สำหรับผมเนื่องจากอยู่หอเลยมองหานกที่เสียงไม่ดังมาก ตัวไม่ใหญ่ สีสวยน่ารัก เลี้ยงง่ายอ ไม่มีโรครบกวน เลยมาเจอ ฟอพัส และได้โทรสอบถามขอมูล และอ่านกระทู้ ของท่านอาจารย์สมพงษ์ มากมายจนเริ่มเลี้ยง จากวันนั้นถึงวันนี้ ครบรอบปีกว่าๆจากการเริ่มเลี้ยงสองสามคู่ สู่สิบกว่าคู่จากสีฟ้า เมิฟ สู่อัลบิโน่ ลูติโน่ สิ่งทำให้ผมได้สัมผัสมากกว่าว่าเขาเป็นนกที่น่ารักอีกอย่างหนึ่งคือไข่ดก เลี้ยงลูกเก่งมากจนน่าตกใจ และฉลาดมากขนาดนกบางตัวที่ผมรับมาเลี้ยงต่อจากหลายท่านยังเชื่องจนน่าตกใจ ขนาดมายืนดูเราเปลี่ยนน้ำเปลี่ยนอาหารด้วยความอยากรู้ของเขา และบางตัวเชื่องขนาดเข้าไปกินอาหารในถ้วยแล้วเราจะเอาถ้วยออกมาเติมอาหารยังไม่บินหนี ทั้งที่นกคู่นั้นเราไม่ได้เลี้ยงมาตั้งแต่เล็ก
ดั้งนั้น ท่านที่คิดจะเลี้ยงนก ลองมองน้องๆฟอพัสไปเลี้ยงเป็นเพื่อนสักตัวแล้วท่านจะรู้ว่าคุณจะอดเลี้ยงเขาเพิ่มไม่ได้ขนาดที่บ้านห้ามว่าพอแล้ว แต่เวลาเจอนกสวยๆตามบ้านพี่ๆใจดีที่ผมไปเยี่ยม ผมยังอดขอเขามาเลี้ยงไม่ได้
นี่ละครับ เสน่ห์ของนกเล็กที่ผมได้สัมผัสมาหนึ่งปีอาจจะบอกได้ไหม่หมด แต่ชื่อของเขาก็บอกตัวเองอยู่แล้วว่า
ฟอพัส (เพื่อให้คิดบวกให้เพิ่มเรื่อยๆ) มั่วบ้างไม่มั่วบ้างขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมชมบ้านนกหลังนี้ครับ

ข้อควรจำ
อาหารลูกป้อนควรชงด้วยน้ำร้อนทุกครั้ง
อาหารลูกป้อนควรอุ่นๆก่อนป้อนอยากรู้ว่าร้อนหรืออุ่นให้เอาแก้วที่ชงอาหารทาบกับข้อมือถ้าอุ่นๆหรือไม่ลวกข้อพับก็ป้อนน้องได้เลย
อาหารลูกป้อนที่บ้านถ้าเหลือจะเททิ้งและชงใหม่ทุกครั้งครับ
ควรป้อนอาหารน้องให้มีอากาศในกระเพาะบ้าง เพราะน้องจะได้มีระยะหดตัวของกะเพาะ
ฝากแค่นี้นะครับ ขอบคุณครับ
และอีกอย่าง ถ้าอาหารลูกป้อนยังร้อนให้เอาถ้วยอาหารแช่ในถ้วยน้ำเย็นเพื่อลดอุณหภูมิ
ถ้าอาหรลูกป้อนเย็นลูกนกจะไม่กินอาหารให้เอาถ้วยอาหารแช่ในน้ำร้อนเพื่อให้อาหารอุ่น
ขอขอบคุณท่าน อาจารย์สมพงษ์ ชื่นอิ่ม ที่ทำให้ผมได้รู้จักนกฟอพัส ทำให้ผมได้เริ่มเลี้ยง และที่ลืมไม่ได้คือ คุณน้อย(ม.ทิพวัลย์) คุณเต๋า (โอทีฟาร์ม) พี่แหม่ม (บ้านนกรังสิต) พี่แซม(ราดรี) เพื่อนๆพี่ๆทุกท่านที่ช่วยแนะนำสอนให้ผมเลี้ยงนกเป็น ขอบคุณครับ 
ขอบคุณพ่อแม่ ที่ทำให้ผมได้เดินมาในทางที่ผมชอบขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมชมบล็อกนี้ขอบคุณครับ

Hand feeding




            นกฟอพัส(Forpus) เป็นนกแก้วอีกชนิดหนึ่งที่ปัจจุบันได้รับความสนใจจากกลุ่มที่ชื่นชอบกับการเลี้ยงนกลูกป้อนเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเด็ก วัยรุ่น และคนหนุ่มสาว เพราะมีขนาดเล็ก เสียงไม่ดัง มีความน่ารัก สามารถพกพาติดตัวไปตามสถานที่ต่างๆได้อย่างคล่องตัว ไม่ต้องเป็นกังวลว่าไม่ถึงเวลาป้อนอาหารจะต้องรีบกลับบ้านเพื่อไปป้อนอาหารให้เขา


หลักการเลือก ซื้อลูกป้อนฟอพัส
1. ถ้าต้องการเลี้ยงให้เชื่องมากๆ ควรเลือกซื้อลูกนกที่มีอายุ 10 ถึง 14 วัน (เพิ่งลืมตา ขนยังไม่แตกใบพาย) แต่มีความเสี่ยงในการตายพอสมควร
2. ถ้าต้องการลดความเสี่ยงในการตาย ควรเลือกซื้อลูกนกที่มีอายุ 15 ถึง 21 วัน (ขนกำลังแตกใบพาย) ซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงในการตายน้อยลงมาก ในขณะที่ยังสามารถเลี้ยงให้เชื่องได้ดีพอควร
3. ควรเลือกซื้อลูกนกที่มีร่างกายอ้วนท้วมสมบูรณ์ ผิวหนังเต่งตึง


การจัดเตรียมอาหารและอุปกรณ์สำหรับลูก ป้อนฟอพัส

1. อาหารที่ใช้สำหรับป้อนลูกนก มีลักษณะเป็นผงละเอียด มีขายในร้านจำหน่ายอาหารและอุปกรณ์เลี้ยงนก ซึ่งมีหลายยี่ห้อ หลายเกรด และหลายราคา โดยทั่วไปราคาจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของอาหาร
2. การผสมอาหารสำหรับป้อนลูกนก ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตจะได้ผลดีที่สุด
3. อุปกรณ์ที่ใช้ป้อน มักนิยมใช้ Dropper ปลายแหลม หรือ Syringe ขนาด 0.5 CC นอกจากนี้ยังสามารถใช้หลอดกาแฟที่ปลายอีกด้านหนึ่งมีรูปร่างคล้ายช้อนก็ได้ แต่ถ้าต้องการความรวดเร็วหรือลูกนกมีจำนวนมาก ก็สามารถใช้ Syringe ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นโดยนำเอาสายยางไส้ไก่รถจักรยานความยาวประมาณ 5 ซม. มาสวมที่ปลาย Syringe คล้ายสายยางให้อาหารคนไข้



วิธีการป้อนลูกนกฟอพัส

1. นำอาหารมาผสมน้ำร้อนในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 – 2.5 แล้วคนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
2. ปล่อยให้อาหารมีอุณหภูมิลดลงเหลือ 39 องศาเซลเซียส หรือน้อยกว่าก็ได้
3. ใช้ Dropper ปลายแหลม หรือ Syringe ขนาด 0.5 CC ดูดอาหารขึ้นมา แล้วป้อนใส่ปากลูกนกโดยป้อนทีละน้อยๆ ระวังอย่าให้เข้าหลอดลมเพราะจะทำให้ลูกนกตาย
4. ควรป้อนอาหารให้กระเพาะอาหารมีที่ว่างเหลือประมาณ 10 – 20 % อย่าป้อนจนแน่นกระเพาะอาหาร เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการย่อยอาหารลดลง
5. ในกรณีที่ใช้สายยางไส้ไก่รถจักรยาน ควรสอดสายยางให้ถึงกระเพาะอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารไปอุดหลอดลม



เลี้ยงนกฟอพัสอย่างไรถึงไม่ตาย


เลี้ยงนกฟอพัสอย่างไรถึงไม่ตาย




      ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ทุกคนย่อมไม่ต้องการให้สัตว์ที่เลี้ยงอยู่ตาย   ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพ สำหรับนกฟอพัสนั้น  มีสาเหตุการตาย จำพวก คือ

จำพวกแรก ได้แก่พวกที่แก่ตายและเกิดอุบัติเหตุตาย

การป้องกัน สามารถทำได้ดังนี้
1. ควรเลือกซื้อลูกนกมาเลี้ยง      เพราะลูกนกสามารถมีอายุอยู่ได้อีกนานจึงจะแก่ตาย
2. ไม่ควรนำลูกนกที่มีอายุแตกต่างกันมากมาเลี้ยงรวมกัน เพราะลูกนกที่มีอายุมากกว่าอาจจะทำร้าย พวกที่มีอายุน้อยกว่าจนตายได้
3.ไม่ควรนำลูกนกจำนวนมากเกินไปมาเลี้ยงรวมกัน ถ้ากรงที่ใช้เลี้ยงไม่ใหญ่มากพอ
จำพวกที่สองได้แก่พวกที่เจ็บป่วยตาย ซึ่งส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากการเกิดโรคท้องเสีย แฮงเกอร์แต่มักจะเป็นเฉพาะตัวมันเองเท่านั้น
                 การป้องกัน สามารถทำได้ดังนี้
 1. ควรเลือกซื้อนกที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ร่าเริง แจ่มใส ไม่หงอยซึม
               2. ควรสร้างโรงเรือนที่ล้อมด้วยตาข่ายลวดตาเล็ก เพื่อป้องกัน หนู         และงู เข้าไปทำร้าย            
  3. ก่อนนำนกใหม่เข้าโรงเรือนเพาะเลี้ยง  ควรนำนกไปทำความสะอาดตัวโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเจือจางอาบทั้งตัวแล้วอาบด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง จากนั้นนำไปผึ่งแดดอ่อนๆจนตัวแห้งแล้วจึงนำนกเข้าโรงเรือน
4. น้ำกิน อาหารให้สะอาดอยู่เสมอ และต้องไม่ขาด
5. ดูแลทำความสะอาดอุปกรณ์ กรง และโรงเรือนอยู่เป็นประจำ
                6. ควรหมั่นตรวจตา นกที่อยู่ในโรงเรือนว่ามีอาการผิดปกติ เช่น หงอยซึม ขนพองฟู หัวซุกปีกหรือไม่ ถ้ามี ควรแยกออกจากฝูงเพื่อทำการรักษา


ในกรณีที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ควรให้ยาป้องกันซัก 1-3 วัน  โดยสังเกตจากตัวนกว่าขนเริ่มพองฟู หัวซุกปีกหรือไม่

เขียน โดย  นายสมพงษ์  ชื่นอิ่ม    เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2556
เจ้าของลิขสิทธิ์    นายสมพงษ์  ชื่นอิ่ม
ข้อความทั้งหมดในบทความนี้ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2537 การคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความนี้ ไปเผยแพร่ในทุกรูปแบบ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน 

สาเหตุที่ทำให้การเพาะขยายพันธุ์นกฟอพัสไม่ได้ผลดี


สาเหตุที่ทำให้การเพาะขยายพันธุ์ไม่ได้ผลดี 


            ในการเพาะขยายพันธุ์นกทุกชนิด    ผู้เพาะพันธุ์ต้องการได้จำนวนผลผลิตลูกนกเกิดขึ้นในฟาร์มจำนวนมาก   แต่มักจะไม่ค่อยได้รับผลตามที่ต้องการ    สำหรับนกฟอพัสมีปัจจัยที่จำเป็นเกี่ยวข้องอยู่หลายอย่างได้แก่
  1. เนื่องมาจากการสืบทอดทางพันธุ์กรรมของนก เช่น ไข่จำนวนน้อย จิกไข่ กลบไข่ เป็นต้น
  2. นกที่นำมาเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ เป็นนกที่ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้แล้วถูกคัดทิ้งออกมา
  3. มาจากการผสมพันธุ์แบบเลือดชิด
  4. ตัวนกมีสุขภาพ ไม่แข็งแรง สมบูรณ์
  5. การเลี้ยงดูไม่ถูกวิธี เช่น ใช้ลูกมะพร้าวเป็นรังไข่
  6. อาหาร วิตามินและแร่ธาตุ ที่ให้กับนก ไม่เหมาะสม
  7. ไม่มีโรงเรือนที่มีการป้องกันสัตว์อื่นไม่ให้เข้ามารบกวน
  8. ไม่เปลี่ยนขี้กบในรังไข่ให้มีสภาพที่ดี   เอื้อต่อการวางไข่และเลี้ยงลูกนก
  9. จำนวนพ่อ-แม่นกมีน้อย ไม่สามารถย้ายไข่หรือลูกนกได้
  10. การนำนกที่มีความพร้อมในการผสมพันธุ์ไม่เท่ากันมาเข้าคู่กัน

จากประสบการณ์พบว่าถ้านำนกที่มีสุขภาพร่างกาย   แข็งแรง สมบูรณ์ดี  มีอายุใกล้เคียงกันไม่เคยผสมพันธุ์มาก่อน       จำนวน10 คู่   จะพบว่านกที่มีปัญหาในการขยายพันธุ์น้อยมากไม่ถึง 5 % 

เขียน โดย  นายสมพงษ์  ชื่นอิ่ม    เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2556
เจ้าของลิขสิทธิ์    นายสมพงษ์  ชื่นอิ่ม
ข้อความทั้งหมดในบทความนี้ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2537 การคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความนี้ ไปเผยแพร่ในทุกรูปแบบ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน 

ลักษณะการแสดงอาการป่วยของนกหรือสัตว์ปีกทั่วไป


ลักษณะการแสดงอาการป่วยของนกที่ผู้เลี้ยงนกควรทราบและควรรีบทำการรักษา



โดยสามารถแบ่งการสังเกตอาการเป็นกลุ่มๆดังนี้คือ

1.ดวงตา ได้แก่ ดวงตาไม่กลม-ใส  เนื้อเยื่อรอบขอบตาบวมมีน้ำ  ขอบตาอักเสบ ตาแดง  ตาแฉะ ไซนัสบวม นัยน์ตาอักเสบ มักเป็นข้างเดียว ตาบอด
2.จมูก ได้แก่ รูจมูกตัน บวมแดง มีน้ำมูก
3.ปาก ได้แก่ มีสีดำคล้ำ อ้างปากค้าง หางกระตุก  หายใจหอบ มีน้ำลายเหนียว หายใจแบบเสียงกรน ไอ จาม
4.คอ ได้แก่ คอบิด คอสั่น คอแข็ง คอตก นอนหมอบ
5.ลำตัว ได้แก่ ตัวสั่น-กล้ามเนื้อกระตุก ตัวสั่น ผอม โตช้า ตัวร้อน ตัวเย็น
6.ก้น ได้แก่ ก้นแฉะ อุจจาระติดก้น
7.ขน ได้แก่ ขนยุ่ง ขนฟู
8.การยืน ได้แก่ ยืนหลับนานๆ ปีกตก หงอย ซึม
9.การกินอาหาร ได้แก่ ไม่กินอาหาร กินอาหารน้อยลง(ยกเว้น นกเข้าสู่วัยหัดบิน ซึ่งมีการปรับน้ำหนักตัว เพื่อให้ตัวเบา) สำรอกอาหาร
10. อุจจาระ ได้แก่ มีกลิ่นเหม็น อุจจาระเขียว(ยกเว้นนกที่กินอาหารเมล็ดธัญพืช) สีขาวหรือน้ำตาลปนเขียว ดำ เป็นเจล ไม่เป็นหลอด ปัสสาวะสีเขียวปนเหลือง ท้องเสีย ท้องเสียรุนแรง ถ่ายเป็นเมือก ถ่ายเป็นน้ำใสๆ ถ่ายเป็นน้ำสีเขียว

อาการทั้งหมดนี้เป็นการบ่งบอกว่านกของท่านอาจมีปัญหาด้านสุขภาพ ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกต ตรวจตา หากพบควรรีบปรึกษาผู้รู้หรือนำนกของท่านไปพบสัตวแพทย์ทันที

เขียน โดย  นายสมพงษ์  ชื่นอิ่ม    เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2555
เจ้าของลิขสิทธิ์    นายสมพงษ์  ชื่นอิ่ม
ข้อความทั้งหมดในบทความนี้ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2537 การคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความนี้ ไปเผยแพร่ในทุกรูปแบบ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน 

ความแตกต่างระหว่าง Forpus (Parrotlet) กับ Lovebird


ความแตกต่างระหว่าง Forpus (Parrotlet) กับ Lovebird สามารถแบ่งแยกได้ดังนี้


1. ขนาดความยาวลำตัว (เป็นมาตรฐานที่ใช้สำหรับวัดขนาดนก) Forpus 5 นิ้ว Lovebird 6-7 นิ้ว (มีขอบตา-ไม่มีขอบตา) 
2. เสียง Forpus เสียงไม่ดัง Lovebird เสียงดัง ยกเว้นเวลาก่อนที่จะผสมพันธุ์อาจมีเสียงดังบ้าง(คล้ายนกกระจอกตีกัน)แต่ก็ ยังไม่เท่าLovebird ที่ส่งเสียงดังตลอดเวลาและสามารถได้ยินไกลกว่า 2-3 เท่า สำหรับ Forpus หากเลี้ยงคู่เดียวแทบจะไม่ได้ยินเสียงเลยซึ่งตรงกันข้ามกับLovebird 
3. การจำแนกเพศ Forpus สามารถจำแนกได้ด้วยตาเปล่า แต่ Lovebird ไม่สามารถทำได้ ถ้าต้องการความถูกต้อง 100% ต้องตรวจ DNA ดังนั้นหากต้องการเลี้ยงเพียงคู่เดียวก็จะได้นกเพศผู้-เพศเมีย ถูกต้อง 100% ซึ่งLovebird มีโอกาสได้นกเพศเดียวกันสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งมือใหม่ที่ไม่มีความรู้และ ประสบการณ์ (ในขณะที่มือเก่าเองก็ยังมีโอกาสผิดได้เหมือนกันแต่อาจน้อยกว่า) ซึ่งอาจทำให้เสียเวลาในการเพาะขยายพันธุ์ทั้งๆที่การเลี้ยงดูก็เหมือนกับผู้ เพาะเลี้ยงรายอื่น 
4. สี ปัจจุบัน Forpus(สายพันธุ์ Pacific parrotlet) สียังน้อยกว่า Lovebird (หากรวมทุกสายพันธุ์) แต่หากเปรียบเทียบเฉพาะสายพันธุ์ น่าจะน้อยกว่า Peachface Lovebird (ไม่มีขอบตา)สายพันธุ์เดียวเท่านั้น ส่วนสีม่วงมีการทำได้แล้วแต่ยังไม่มีจำนวน 

5. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม(Colour Mutation) มีการถ่ายทอดครบ 4 แบบ เหมือนนก Lovebird ไม่มีขอบตา 
6. โรคติดต่อเฉพาะ ยังไม่พบว่า Forpus เป็นโรคตาเจ็บ แต่พบว่าเป็นโรคฝีดาษ (ไม่ติดต่อถึงกัน เป็นเฉพาะตัว) ในขณะที่ Lovebird เป็นทั้ง 2 โรค และมี % การตายสูงมาก 
7. อาหาร ประกอบด้วย ทานตะวัน มิลเลต ข้าวไร ข้าวโอ๊ด ห่วยมั้วและข้าวเปลือก พฤติกรรมการกินอาหารของ Forpus ไม่ขุ้ยเขี่ยอาหารให้เสียหาย ปริมาณการกินอาหารน้อยกว่า Lovebird เนื่องจากขนาดเล็กกว่า 
8. การวางไข่ครั้งละ 5-8 ฟอง (เฉลี่ย 6 ฟอง) 
9. ความนิยม สำหรับผู้เพาะขยายพันธุ์มีน้อย แต่สำหรับนกลูกป้อนที่นำไปเลี้ยงฝึกและเลี้ยงเป็นเพื่อนในบ้าน หอพัก กำลังได้รับความนิยมสูงมากๆ 
10. Forpus ปัจจุบันราคาในประเทศไม่ดีเท่า Lovebird แต่ในต่างประเทศสูงกว่าไม่น้อยกว่า 5-10 เท่าตัว ซึ่งเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เลี้ยงไว้ดูเล่นที่มีเงินน้อย สถานที่จำกัด และขณะนี้กำลังมีการแข่งขันความสามารถของ Forpus ซึ่งสามารถนำนกไปเข้าร่วมการแข่งขันได้อีกด้วย 
11. Forpus กัดเจ็บแต่มักจะไม่ได้เลือด ในขณะที่ Lovebird กัดเจ็บน้อยกว่าแต่ได้เลือดมากกว่า 
12. Forpus กรงที่ใช้เลี้ยงสามารถใช้กรงเล็กกว่า (สิ้นเปลืองงบประมาณน้อยกว่า) และไม่จำเป็นต้องใช้ฝากั้น เพราะอย่างไรเสีย เสียงก็ยังดังสู้ Lovebird ไม่ได้ (ในปริมาณนกเท่ากัน)


เขียน-ภาพ โดย  นายสมพงษ์  ชื่นอิ่ม
เจ้าของลิขสิทธิ์    นายสมพงษ์  ชื่นอิ่ม
ข้อความและรูปภาพทั้งหมดในบทความนี้ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พ.. 2535 การคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความนี้ ไปเผยแพร่ในทุกรูปแบบ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน 

วิธีการซื้อนกลูกป้อน



สัตว์ปีกที่มนุษย์นิยมนำมาเลี้ยงดูได้แก่ ไก่หรือนก สำหรับนก นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ เลี้ยงเพื่อฟังเสียงอันไพเราะกลุ่มหนึ่ง กับเลี้ยงเพื่อชมสีสันอันสวยงามอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ผ่านมาการเลี้ยงนก มักจะเลี้ยงไว้ในกรง หรือถ้าไม่เลี้ยงไว้ในกรงก็มักจะทำการขลิบปีก เพื่อให้นกบินหนีไปไม่ได้ แต่ในปัจจุบันเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นใหม่กับผู้ที่ต้องการเลี้ยงนก กล่าวคือ เริ่มมีความต้องการเห็นนกบินได้คล้ายกับในธรรมชาติมากขึ้น  โดยเลี้ยงแบบไม่ต้องขลิบปีก แล้วปล่อยให้บินเล่นในบ้านหรือที่พัก(ประตู-หน้าต่าง ต้องปิด เพื่อป้องกันไม่ให้นกหลุดออกไป) แบบหนึ่ง กับอีกแบบหนึ่งก็คือ นำนกมาฝึกเพื่อให้สามารถนำไปปล่อยบินภายนอกอาคารได้

นกฟอพัสเป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมนำมาเลี้ยงเป็นเพื่อน โดยปล่อยให้บินได้ภายนอกกรง หรือในอาคาร สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า นกฟอพัส เป็นนกแก้วขนาดเล็กมาก แถมมีสีสันสวยงาม เสียงไม่ดังจนเป็นที่รำคราญ สามารถปล่อยให้บินในที่พักได้ ซึ่งทำให้เกิดความประทับใจต่อผู้ที่ได้เลี้ยงนกชนิดนี้เป็นอย่างมากที่ได้ชื่นชมความสวยงามของตัวนกและความน่ารักเมื่อเจ้านกตัวน้อยเหล่านี้ได้ออกมาอยู่นอกกรง นอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีการนำนกฟอพัสไปฝึกเพื่อนำไปปล่อยบินภายนอกอาคารแล้วกลับมาหาเจ้าของ ซึ่งทำให้ผู้เลี้ยงมีความเข้าใกล้ธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และนี่อาจกล่าวได้ว่ามันเป็นความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับนกที่เราเลี้ยงเลยทีเดียว แต่ทุกขั้นตอนก่อนที่จะสามารถนำเขาออกมาเลี้ยงนอกกรง จะต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง อันประกอบด้วย วิธีการซื้อ วิธีการเลี้ยงดู ตลอดจนถึงวิธีการฝึกฝน

ในที่นี้จะขอกล่าวในประเด็น เรื่องวิธีการซื้อ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนที่จะทำให้เราได้ชื่นชมความสุข ความเพลิน อันแปลกใหม่ในชีวิตที่จะได้จากนกฟอพัส วิธีการซื้อนกลูกป้อน สามารถแยกเป็นประเด็นต่างๆได้ดังนี้

1. ไม่ควรซื้อลูกป้อนโดยการเปรียบเทียบราคา
2. ไม่ควรซื้อ จากแหล่งที่อาจมีเชื้อโรค
3. ไม่ควรซื้อ เพียงแค่ได้ดูรูปถ่าย
4. ไม่ควรซื้อลูกป้อนที่เคยผ่านการแยกจากพ่อ-แม่ มาป้อน(ยกเว้น เฉพาะผู้ที่มีความชำนาญเท่านั้น)
5. ไม่ควรซื้อ เพราะว่าใจร้อน อยากได้ทันที
6. ควรซื้อลูกป้อนที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง
7. ควรได้มีโอกาสเลือกลูกป้อน
8. ควรซื้อจากผู้ขายที่สามารถให้คำแนะนำ-ปรึกษาที่ถูกต้อง
9. ควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจซื้อ

สำหรับผู้ที่คิดจะซื้อนกลูกป้อนมาเลี้ยง ไม่ควรคิดเพียงว่าซื้อลูกนกมาได้แล้วเป็นอันใช้ได้ เพราะในบางครั้งอาจมีปัญหาบางอย่างเกิดกับลูกนกที่เราซื้อมา ซึ่งจะต้องสามารถขอคำปรึกษา แนะนำ ที่ถูกต้องจากผู้ขายได้ มิฉะนั้นแทนที่จะได้รับความสุขกลับกลายเป็นความทุกข์แทน หรือเข้าทำนองที่ว่า เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

เขียน-ภาพ โดย  นายสมพงษ์  ชื่นอิ่ม
เจ้าของลิขสิทธิ์    นายสมพงษ์  ชื่นอิ่ม
ข้อความและรูปภาพทั้งหมดในบทความนี้ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พ.. 2535 การคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความนี้ ไปเผยแพร่ในทุกรูปแบบ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน